Krungsri Career: Career Spotlight – License ที่จำเป็นสำหรับคนทำงานธนาคาร

0
594

ความเดิมตอนที่แล้ว ผมได้เล่าถึง License ที่ควรมีสำหรับคนทำงานธนาคารในการดูแลลูกค้าบุคคลทั่วไป https://bit.ly/3g8xlVV

แต่วันนี้!! จะมาเล่าต่อยอดจากสิ่งที่พูดค้างไว้ นั่นก็คือ “License สำหรับนักวางแผนการเงิน หรือ ที่ปรึกษาการลงทุน” ถ้าเป็นชื่อภาษาอังกฤษที่เห็นตาม website สมัครงาน ก็จะเป็น Private Wealth Advisor, Wealth Advisor, Investment Advisory, Relationship Manager ฯลฯ
.
สมัยก่อนเวลาที่ลูกค้าต้องการซื้อกองทุน แค่เดินเข้าไปที่สาขา แล้วบอกพนักงานว่า ต้องการซื้อกองทุน หรือ ช่วงปลายปี พนักงานก็จะถามคุณเลยว่า “ซื้อ LTF กันหรือยังคะ” “ใช้ลดหย่อนภาษีได้นะคะ” (LTF ปัจจุบันใช้ลดหย่อนภาษีไม่ได้แล้ว) ซื้อแล้วจบกันไป อะไรประมาณนี้
.
แต่!! การทำงานธนาคารในปัจจุบัน เราจะเห็น Concept การเป็นคู่ชีวิตมาแรงขึ้น พนักงานธนาคาร ต้องรู้จัก Wallet ของลูกค้า แปลว่า ต้องรู้ว่าเงินทั้งหมดของลูกค้าเข้ามาจากไหน แล้วเงินถูกกระจายไปที่ไหน ไปยังไง ไปทำไม มีหนี้ตรงไหน มีแผนการใช้จ่าย มีแผนการใช้ชีวิตอย่างไร แล้วจึงนำข้อมูลทั้งหมด มาออกแบบการลงทุน และการป้องกันความเสี่ยงของลูกค้า ซึ่งการที่คุณจะทำแบบนี้ได้ สิ่งสำคัญ คือคุณต้องมีความรู้ และ ใบอนุญาต
.
ตัวแรกที่จะพูดถึง คือ CFP ซึ่งเอาจริงๆ ไม่ใช่ License แต่เป็นคุณวุฒิ (ไม่มีก็ทำงานได้) ตัวนี้เป็นตัวที่มีความจำเป็น และสำคัญมากที่สุดในสายนี้เลย ตัวเดียวครบจบปัง และถ้าคุณสอบผ่านครบทั้ง 6 Modules คุณสามารถติดยศ CFP ไว้หลังชื่อคุณในนามบัตรเพื่อแสดงวิทยฐานะได้อีกด้วย (สุดปัง) CFP เนี่ย สามารถใช้หากินได้ทั่วโลกด้วยนะครับ เป็นมาตรฐานสากล ปัจจุบันในประเทศไทย ผู้ดูแลคุณวุฒินี้คือ สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (TFPA) ส่วนการเรียนการสอบเราจะทำผ่าน Thai PFA และ AIMC โดย Module ทั้ง 6 ตัว ประกอบไปด้วย:

  • Module 1 พื้นฐานการวางแผนทางการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ
  • Module 2 การวางแผนการลงทุน
  • Module 3 การวางแผนประกันชีวิตและประกันภัย
  • Module 4 การวางแผนเกษียณ
  • Module 5 การวางแผนภาษีและมรดก
  • Module 6 การจัดทำแผนการเงิน
    .
    แต่ในด้านของการสอบวัดความรู้ทั้ง 6 modulesนี้ เค้าจะแบ่งเป็น 4 Paper ไม่ใช่ 6 Paper
    Paper 1 จะเป็นข้อสอบของ Module 1
    Paper 2 จะเป็นข้อสอบของ Module 2
    Paper 3 จะเป็นข้อสอบของ Module 3 และ 4
    Paper 4 จะถูกแบ่งเป็น 4.1 กับ 4.2 โดยที่ 4.1 คือข้อสอบของ Module 5 และ 4.2 คือการรับ case study ไปทำแผนการเงินมานำเสนอต่อคณะกรรมการ
    .
    และการที่เราจะได้ครอบครอง Module ทั้ง 6 มา ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆเลย ซึ่งก็ไม่พ้นเรื่องเงินๆทองๆ กว่าจะอบรมและสอบครบทั้งหมด รวมแล้วก็ เบาๆ 75,500 บาท โดยสรุปค่าใช้จ่ายได้ดังนี้
  • การอบรม 6 Modules ตก Module ละ 10,000 บาท รวม 60,000 บาท
  • การสอบ 4 Paper รวม 15,500 บาท (แต่ถ้าเป็นสมาชิก Thai PFA มีส่วนลดให้นะครับ)
    .
    นอกจากคุณขยัน ฉลาด และมีตังค์แล้ว จะสามารถขึ้นทะเบียนเลยได้ไหม… คำตอบคือไม่ได้ คุณยังต้องมีประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องด้วยอย่างน้อย 3 ปี
    เห็นไหมครับ กว่าจะได้มาเลือดตาแทบกระเด็น แต่ขอบอกเลยว่า ตัวนี้จบ หากินที่ไหนก็ได้ทั่วโลก และอย่าลืมว่าคุณต้องมี License 3 กษัตริย์ (นายหน้าประกันชีวิต, นายหน้าประกันวินาศภัย และ IC License) ก่อน ค่อยไปเตรียมสอบ CFP และถ้ามีครบ 4 ตัวนี้ คือ ปังมากกกก แน่นอน
    .
    ถ้าเพื่อนๆ มีคำถามเพิ่มเติมก็ Comment มาคุยกันได้นะครับ และสำหรับตอนต่อไป ตอนที่ 3 เราจะไปต่อกันที่ License หรือ คุณวุฒิ ด้านงานสินเชื่อกันบ้าง จะเป็นอย่างไร อย่าลืมติดตาม License Story กันต่อนะครับ
    .
    ฝากเพื่อนๆ กดไลค์ กดแชร์ เป็นกำลังใจให้ทีมงานสร้างสรรค์ นำเสนอสิ่งดีๆ แบบนี้ต่อไปด้วยนะครับ
    .
    Contributor: คุณจีรภัทร สุวรรณพุ่ม
    รองผู้อำนวยการฝ่ายสรรหาและว่าจ้างบุคลากร
    Cr. www.tfpa.or.th , www.thaipfa.co.th
    .
    ติดตามเรื่องราวดีๆ จากกรุงศรีผ่านช่องทางอื่นๆได้ที่
    LINE : http://bit.ly/KRUNGSRICAREER-Line
    IG : https://bit.ly/KrungsriCareer_Instagram
    Linkedin: http://bit.ly/KRUNGSRICAREER-linkedin
    สำหรับผู้ที่สนใจร่วมงานกับกรุงศรีในอนาคต สามารถฝากประวัติกับเราได้ที่ http://bit.ly/2PYGeWl
    .